เคล็ดลับในการดื่ม
 
 

สำหรับการดื่มที่ดีควรดื่มแบบชิมช้า ๆ และควรดื่มทันทีหลังปรุงเสร็จ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารและทางยามากกว่าปล่อยทิ้งไว้ นานแล้วดื่ม เพราะจะทำให้คุณค่าลดลง การดื่มน้ำสมุนไพรจะได้ทังกลิ่นและรสตามธรรมชาติของสมุนไพรนั้น ๆ และยังมีคุณค่าทางยา อีกด้วย เช่น น้ำมะขาม ช่วยลดอาการกระหายน้ำ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง น้ำใบเตย น้ำใบบัวบก เป็นยาเย็นช่วยบำรุงหัวใจ น้ำมะเขือเทศ มีคุณสมบัติช่วยย่อย และช่วยฟอกเลือด ทำให้ผิวพรรณสวย จากนั้นยังมีสารบางอย่างที่ช่วยลดพิษในลำไส้ มะเร็ง ต่อมลูกหมากได้ เครื่องดื่มเหล่านี้เป็นได้ทั้งอาหารและให้คุณค่า จึงอาจกล่าวได้ว่าน้ำสมุนไพรจึงเป็นยาช่วยบำรุง ปกป้องรักษา สภาพสภาวะสมดุลทำให้มีสุขภาพดี

 
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการที่จะได้น้ำผลไม้ที่สะอาดและมีคุณค่านั้น จำเป็นที่จะต้องขึ้นอยู่กับสิ่งเหล่านี้ด้วยเช่นกัน

1.
วิธีการเตรียมน้ำสมุนไพร : ด้วยการเตรียมน้ำสมุนไพร เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างแท้จริง ควรคำนึงถึง การเลือกสมุนไพร เลือกที่สด ไม่มีรอยช้ำเน่า สีเป็นไปตามธรรมชาติ ความสดช่วยให้มีคุณค่าดี รสชาติดี สำหรับสมุนไพรที่ทำแห้งไว้ เช่น กระเจี๊ยบแดงแห้ง ความมีสีแดงคล้ำ แต่ไม่ดำ มะตูมแห้งสีน้ำตาลออกเหลือง ไม่มีกลิ่นแปลกปลอม เพราะความผิดปกติเหล่านี้จะมีผลต่อกลิ่นและรสชาติของน้ำสมุนไพร
 
  2. ความสะอาดของภาชนะ : ต้องสะอาด และเลือกให้เหมาะสมกับชนิดของสมุนไพร ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะขาม มะม่วง ควรใช้ภาชนะเคลือบ
3. อุปกรณ์ที่ใช้ทำน้ำสมุนไพร : ควรใช้ครกตำ หรือขูดให้เป็นฝอยแล้วคั้นด้วยผ้าขาวบาง เพื่อแยกน้ำสมุนไพรออกจากกาก จะช่วยทำให้ได้รับกลิ่นของสมุนไพรดีขึ้น อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ที่ใช้ทุกชนิด จะต้องสะอาด และเหมาะสมกับชนิดของสมุนไพร ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ได้รับน้ำสมุนไพรที่มีคุณค่าและสะอาด
 
  4. ความสะอาดของสมุนไพร : ควรล้างให้ถูกวิธี ถ้าสมุนไพรแห้งควรล้างอย่างน้อย 1-2 ครั้ง ถ้าเป็นสมุนไพรสด ควรล้างอย่างน้อย 2-3 ครั้ง เพื่อป้องกันสารเคมีที่ติดมา และหลังจากปรุงเสร็จแล้วควรต้มฆ่าเชื้อด้วยวิธีพาสเจอไรซ์ (pasteurization) ที่อุณหภูมิ 65 องซาเซลเซียส 30 นาที หรือ 77 องซาเซลเซียส 1 นาที หรือ 88 องซาเซลเซียส 15 วินาที เพื่อทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเสื่อมเสียและทำให้เกิดโรค หรือยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ การฆ่าเชื้อด้วยวิธีนี้ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสมบัติด้านประสาทสัมผัส และคุณค่าทางโภชนาการน้อยที่สุด  
  5. น้ำตาลหรือน้ำเชื่อม : การเตรียมน้ำเชื่อมเข้มข้น ทำได้โดยใช้น้ำตาลทราย 100 กรัม ผสมน้ำ 50 กรัม ตั้งไฟพอเดือด คนจนน้ำตาลละลายหมดยกลงทิ้งไว้ให้เย็น ตามอัตราส่วนนี้ จะได้น้ำเชื่อมประมาณ 10 ช้อนโต๊ะ หรือ 30 ช้อนชา ซึ่งการเติมน้ำเชื่อมในน้ำสมุนไพร ควรคำนึงถึงปริมาณที่ควรได้รับต่อวันด้วย ซึ่งข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวัน และแนวทาง การบริโภคอาหารสำหรับคนไทย พบว่า คนไทยควรได้รับน้ำตาล ไม่เกินวันละ 2 ช้อนโต๊ะ ซึ่งรวมถึงการรับประทานอาหารในมื้อต่างๆ ด้วย  
  โดย : สุภัทร์ จันทร์วรชัยกุล